วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

2.2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
      คอมพิวเตอร์ ทำงานโดยอาศัยพื้นฐานบนหลักการเดียวกับกระบวนการทำงานของสมอง คือ การสร้างสัญญาณความถี่ไฟฟ้าเทียบเท่าสัญญาณนาฬิกาขึ้นมาชุดหนึ่ง เรียกว่า "คล็อก" (Clock) โดยการกำเนิดความถี่จากการปิด และเปิดไฟฟ้า สลับกันด้วยความเร็วสูง จากการปิด และเปิดไฟฟ้า ได้ถูกกำหนดค่าไว้เป็น 0 เมื่อปิดไฟฟ้า และ 1 เมื่อเปิดไฟฟ้า เลข 0 กับเลข 1 นี้ เรียกว่า "บิต" (Bite) เมื่อนำค่าของบิตมาวางเรียงกันใน 1 บรรทัด จะประกอบด้วยบิตจำนวน 8 หลัก เรียกว่า "ไบต์" (Byte)
       การจัดวางไบต์ บรรทัดบิตแต่ละบรรทัด ถูกนำมาวางเรียงไว้เป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 ไบต์ รวมเป็นกลุ่มละ 32 ไบต์ ก่อให้เกิดวรรคช่องว่างระหว่างบรรทัดบิต เรียกว่า "อินเตอร์รัป" (Interrupt) หรือกระบวนการขัดจังหวะภายในไบต์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถแยกจำนวนบิต และคำนวณได้อย่างถูกต้อง
       ดังนั้น คอมพิวเตอร์จะมีขีดความสามารถสูงส่งปานใดก็ตาม แต่ความจริงแล้ว แต่ตัวคอมพิวเตอร์จะรู้จักข้อมูลที่อยู่ในตัวแค่เพียงเลข 0 กับ 1 เท่านั้น
         ในการคำนวณมาตราเมตริกของคอมพิวเตอร์ จะต่างจากการคำนวณเมตริกทั่วไป ซึ่งจะนับจำนวน 1 พันเป็นตัวเปลี่ยนทศนิยม เช่น 1,000 เมตร เท่ากับ 1 กิโลเมตร เป็นต้น
         แต่ในการคำนวณเมตริกของคอมพิวเตอร์นั้น จะใช้จำนวนบิต หรือไบต์ เท่ากับ 1,024 เป็นตัวเปลี่ยนจุดทศนิยม ดังนี้
          1,024 บิต เท่ากับ 1 กิโลบิต
          1,024 กิโลบิต เท่ากับ 1 เมกะบิต
          1,024 เมกะบิต เท่ากับ 1 กิกกะบิต
          1,024 กิกกะบิต   เท่ากับ   1 เทราบิต
          หากถ้านับควบจำนวนให้เป็นไบต์ ต้องหารด้วย 8 จึงจะทราบจำนวนเป็นไบต์ และหากต้องการแตกจำนวนไบต์ออกมาเป็นบิต ก็จะต้องคูณด้วย 8 จึงจะได้จำนวนบิตที่ต้องการ
          เพียงเท่านี้ คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถที่จะทำงานได้ เพราะคอมพิวเตอร์จะต้องมีขบวนการทำงานที่ซับซ้อนมากมาย จึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลกับมนุษย์ได้
          เช่น เมื่อเราป้อนข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ภาพ หรือสัญลักษณ์อันใดเข้าไป คอมพิวเตอร์จะไม่รู้จักข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป ในกระบวนการนี้จึงต้องมีกระบวนการแปลภาษา ที่เรียกว่า "อินเดรเตอร์" เป็นตัวกลางในการประมวลผลข้อมูลของมนุษย์ และแปลเป็นภาษาเครื่องจักร ก็คือเลข 0 กับ 1 ก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป และทำงานตามคำสั่งของเราได้อย่างถูกต้อง
        และเมื่อเราเรียกข้อมูลออกมาจากคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องผ่านกระบวนการแปลภาษาเครื่องจักรกลับมาเป็นข้อมูลที่เรารู้จักก่อนเช่นกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น